กว่าจะมาเป็น อารีฟีน

 

1. ด้านเทคโนโลยี
ผมไม่เคยเรียนเรื่องนี้เลยตั้งแต่แรก อันที่จริง ตอนสมัยเรียนผมด้อยกว่าใครๆ ทั้งหมด เพราะผมไม่เคยมีคอมเป็นของตัวเอง สมัยมัธยม เพื่อนๆ สามารถหาข้อมูลในเว็บ คัดลอกใส่ในเวิร์ดได้ แต่ผมครูให้เล่นเกมเพื่อบังคับเม้าส์อยู่เลย เป็นอยู่แค่นั้น จนมาถึงมหาลัย ผมก็ไม่ได้เก่งขึ้น ทำงานก็คัดลอกจากคนอื่น จนได้มีโอกาส ไปสอนพิเศษในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งตอนปีสาม เวลาจะทำข้อสอบแบบตัวเลือกเขาให้ทำเป็น 2 คอลัม ผมทำไม่เป็น ใช้ปุ่ม สเปซบาร์ เคาะเรื่อยๆ กลายเป็น แยก 2 ฝั่งคอลัมเหมือนเพื่อนครูแต่ก็น่าอับอายเมื่อเพื่อนรู้ว่าผมทำแบบนี้ เลยลาออกจนเมื่อจะจบมหาลัยตอนปี 5 ผมไม่สามารถส่งงานได้ เพราะพิมพ์งานไม่ได้ (ไม่มีคอมและทำไม่เป็น) เริ่มมีคนคนหนึ่งมาสอนผม Peeya Lupeeyah เลยพึ่งเก่งพื้นฐานการทำงานเอกสาร ตอนนั้น (ปี 2555) จนมาถึงตอนเข้าทำงานในโรงเรียนเอกชนอีกครั้งหลังจบ ก็ทำได้แค่พื้นฐาน จนถึงปี 2557 เลยท้าทายตัวเองด้วยการเปิดร้านคอมเล็กๆ เพื่อกดดันตัวเองให้ทำในสิ่งที่ยากเพราะบางทีต้องแก้ปัญหาเอง จำเป็นต้องศึกษาจากกูเกิ้ล และน้องชาย ฝีมือก็ดีขึ้น จนไปถึงการเสพติดเรื่องนี้ ทำให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สรุปคือใช้เวลาฝึกฝนเรื่องนี้ นับจากปี 2557-ปัจจุบัน (2566) เป็นเวลาราว 9 ปี ตอนนี้ก็ฝึกเรื่อยๆ ตลอดเวลา เพราะกลายเป็นความหวังของเพื่อนบางคนที่มักจะถามเรื่องเหล่านี้ เสียฟอร์มไม่ได้ 55555

2. ด้านการเป็นวิทยากรเขตพื้นที่ ด้านไอซีที
เรื่องต่อจาก ข้อ 1 เกิดการเรียนรู้มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2557 ก็เก่งขึ้นพอที่จะเป็นที่หวังพึ่ง ให้กับครูในโรงเรียนได้ สอนบางอย่างลงยูทูปไปด้วยจนมีผู้ติดตามจำนวนนึง จนมาเข้าทางกับ ผอ เขตท่านก่อน (ผอ ประสิทธิ์ หนูกุ้ง) มีนโยบายให้ทุก โรงเรียนในเขต มีช่องยูทูป จึงเป็นโอกาสของผมที่ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรเขต (ครั้งแรก) นับว่าเป็นตั๋วเปิดทาง โดยการได้รับสนับสนุนจาก ผอ โรงเรียนของผม (ผอ. ชุติมา พงศ์ทิพย์พนัส) Chutima Pongtippanus และ ศึกษานิเทศ (ศน นุห์กาน เอสเอ) หลังจากนั้น ก็ได้รับโอกาสเป็นวิทยากรด้านไอซีทีมาอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง บางครั้งเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยทำมาก่อน (การทำเว็บไซต์) อาศัยศึกษาด้วยตัวเองแทบทั้งสิ้น เพราะไม่เคยเรียนด้านนี้ 555

3. ด้านการร้องเพลง
ผมตอนประถมเป็นคนขี้อาย ไม่เคยแสดงออกทางนี้เลย พอจนถึง ช่วงที่เรียน ม.1 (โรงเรียนสตรีศาสนูปถัมภ์) มีงานแสดงบนเวที แต่ละชั้นต้องมีการแสดง แต่ห้องเราไม่มีเลย เลยถูกเพื่อนผลักให้ขึ้นร้องเพลง ซึ่งตอนนั้น ไม่ได้เตรียมตัวเลยเพราะขี้อาย เลยเอาเพลงที่พอนึกได้ นั้นคือ เพลงละครอันโด่งดังยุคนั้นคือ เพลง แผ่นดินคาเซ ของละครเก็บแผ่นดิน จนเพื่อนล้อแบบฮาๆ เริ่มเป็นที่โดดเด่นในหมู่เพื่อน ทำให้เกิดอาการกล้าขึ้นมา เลยเริ่มขึ้นเวที โดยเฟื่องฟูที่สุด สมัย ม.ปลาย (โรงเรียนยะหาศิรยานุกูล) เริ่มร้องเพลงบ่อยสุดๆ ทุกงานเวที อารีฟีน ต้องร้องเพลง รวมไปจนถึง เป็นนักร้อง ดีเกฮูลูของโรงเรียน (ติดใจสุดๆ)จนมาถึง สมัยมหาลัย ก็ยังอยากเข้าวงดีเกฮูลูของมหาลัย แต่เส้นทางไม่เปิด ไม่มีโอกาสได้เข้าวง เลยจบสิ้นเลย อารีฟีนไม่ได้ไปต่อ ปัจจุบันก็ร้องเพลงเรื่อยๆ เสียงไม่ได้เพราะ แต่ใจมันชอบ ติดตามได้ทาง youtube : pinzmusic (โปรโมทเลยละกันนะ)

4. ด้านการแต่งคำกลอน
ตั้งแต่เด็กๆ จนถึง ม.ต้น ไม่เคยข้องเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย จนมาถึง ม.ปลาย ได้มีโอกาสเรียนภาษาไทยกับอาจารย์ท่านหนึ่ง (อาจารย์ราชันย์) ราชันย์ สันติวงศ์วิวัฒน์ เรียนสนุกมาก จนถึงการได้มีโอกาส แต่งกลอน โคลง กาพย์ ฉันท์ ร่าย (อาจารย์สอนสนุก และสอนดี ทำให้ผมมีทัศนคติที่ดีต่อทุกเรื่องที่ท่านได้สอน) จนได้มีโอกาสได้แต่งกลอนแข่งขัน ได้รับรางวัลมาบ้าง และการแต่งกลอนส่งจีบสาวๆ ในช่วงที่เรียนระดับมหาวิทยาลัย (เขาเข้าใจว่าเอามาจากกูเกิ้ล) แต่อันที่จริง ไม่มีบทไหนเลยที่คัดลอกมา ทุกบท มาจากการประพันธ์เอง ยิ่งแต่งประพันธ์ไปมากเข้า ก็กลายเป็นว่าบทกลอนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว

5. การแต่งเพลง
เริ่มมาจาก ตอน เนียน ม.ปลาย เมื่อคราวเป็นนักร้อง ดีเกฮูลู โรงเรียน วิทยากรที่มาสอน ทำเพลงให้ส่วนนึง จนถึงจบหลักสูตร แต่เราต้องแสดงต่อ แต่ไม่มีเพลงใหม่เลย ก็เลยปรึกษากับนักร้องในวงอีกคนนึง (แวอีซอ สุตันสะ) ว่า ผม อารีฟีน จะลองทำเพลงดู เลยใช้ทักษะการแต่งกลอน มาสร้างทำนองเอง จนพัฒนามาเป็นเพลงอีกหลายๆ เพลงตอนนั้น ทุกครั้งการแสดงเพลงจะไม่ซ้ำกันเลยนะ (ตอนนี้ลืมหมดแล้ว) ทำเพลงมาเรื่อยๆ จนจบ ม.ปลาย เมื่อเข้าเรียน มหาลัย ใจอยากเข้า คณะดีเกฮูลู มหาลัย เลยทำเพลงอีกเพลงนึง หวังว่าใช้เปิดทางเข้าคณะดีเกฮูลู แต่ไม่มีช่องทางเลย ไม่รู้จักคนในวงซักคน เลยพับโครงการ จนมาถึงช่วงทำงานในโรงเรียน ก็แต่งเพลง อยากจะให้เป็นเพลงมาร์ช แต่ได้ร้องครั้งเดียว (เพราะเขาไม่ชอบมั้ง) เลยอกหักอีก จนมาถึง โรงเรียนปัจจุบัน ผอ ต้องการอยากให้มีเพลงมาร์ช โรงเรียน ทีนี้เข้าทางเลย ทำเพลงทันที ตอนปี 2563 ร้องทุกสัปดาห์จนถึงปัจจุบัน
และยังทำเพลงให้เขตพื้นที่อีก 2 เพลง รวมทั้งเพลงสื่อการสอนด้วย

6. ด้านการตีกลอง
ตั้งแต่สมัย ม.ต้น ผมชอบตีมาก แต่ไม่ใช่กลองนะ (ไม่ได้มีโอกาส) เคาะโต๊ะในห้อง จนรำคาญ แต่เมื่อมาถึงสมัย ม.ปลาย ห้องเรียนอยู่ชั้น 2 แต่ห้องพักครู อยู่ชั้นล่าง ผมก็แนวเติม เคาะโต๊ะ จนครูรำคาญ ครูสมัยนั้นแก้ปัญหาได้อย่างฉลาด และเข้าทางผม โดยการตั้งกลุ่ม ตีดนตรีซีละ หลังจากนั้น ผมเลิกเคาะโต๊ะโดยปริยาย หันมาฝึกตีดนตรีซีละ ตอนพักเที่ยง จนพัฒนามาเป็น ดนตรีดีเกฮูลูสลับกับร้องนำ (เยืาองจากความชอบเคาะๆ ตีๆ อยู่แล้ว สามารถตีดนตรีดีเกฮูลูได้ทุกชิ้น สลับตีสลับร้อง กับอีกคนในวง (พูดแล้วอยากจะดีกบองดีเกฮูลูจัง แต่คงไม่มีโอกาสแล้วมั้ง)จนปัจจุบัน ได้มีโอกาสตีกลองชุด เพราะเขตพื้นที่เขาใช้ในบางกิจกรรม ผมได้มีโอกาสตีกลองชุดเพิ่มเติมและเพราะเป็นคนชอบเคาะๆ ตีๆ อยู่แล้ว ทำให้การฝึกฝนพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่ถึงกับเก่ง

7.ด้านการเรียนภาษาอังกฤษ
ข้อนี้ก็มีที่มา ผมไม่ได้ชอบตั้งแต่แรก จนมาได้มีโอกาส ตอน ม.ปลาย ที่ต้องไปแข่งทักษะอังกฤษ ที่ยะลา เขต 2 สมัยนั้น (สมัยนี้ สพม.ยะลา) ได้รับการผลักดัน จาก (ครูมานีวรรณ) มานีวรรณ ยุโป และการติวเข้มจากครูต่างประเทศ ของโรงเรียน แม้ว่าได้แค่ที่ 2 แต่ก็เป็นกำลังใจและเป็นทางเปิดใจในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสาขาอังกฤษ ในเวลาต่อมา